![]() |
![]() | 481 เศรษฐศาสตร์ทรัพยาก | ![]() |
![]() |
![]() | ![]() |
chit
ตำแหน่ง
![]() ![]()
![]() |
![]() |
การจัดสรรทรัพยากรการเกษตร
เช่น พวกที่ดิน Demand มีมากกว่า supply ที่ดินมีจำกัด ทำให้ที่ดินการเกษตรมีมูลค่า และราคาก็สูงขึ้น เลยต้องมีการจัดสรรเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ต่อสังคมและประเทศชาติ จะได้ผลประโยชน์สูงสุด โดยรัฐต้องเข้ามาดูแลการจัดสรรที่ดิน ประเภทของการเกษตร มี 4 ประเภทใหญ่ๆ 1. กสิกรรม เ่ช่นการปลูกพืช 1.1ข้าว 1.2ไร่ 1.3สวน-ผัก-ผลไม้ 2.ประมง 2.1 น้ำเค็ม 2.1.1 สัตว์น้ำเลี้ยง 2.1.2 สัตว์น้ำที่จับในทะเล 2.2 น้ำจืด 3.ปศุสัตว์ 4.ป่าไม้ ซึ่งรัฐต้องจัดทรัยยกรการเกษตรให้ประเทศเกิดประโยชน์สูงสุด เช่น พื้นที่การเกษตร ควรใช้พื้นที่เท่าใด ทำปศุสัตว์เท่าไหร่ ฯลฯ จึงจะเกิดความสมดุล ระหว่าง Supply & Demand เป็นการจัดสรรทรัพยากรการเกษตร ระหว่าง เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม - เศรษฐศาสตร์พานิชย์ - เศรษฐศาสตร์เกษตร - เศรษฐศาสตร์สาขาอื่นๆ |
|||||||||||
|
![]() |
![]() | ![]() |
chit
ตำแหน่ง
![]() ![]()
![]() |
![]() |
การจัดสรรทรัพยากรการเกตรได้แก่ ทุกสิ่งทุกอย่างที่สามารถนำมาใช้ในการผลิตสินค้าเกษตรได้ ไม่ว่าสิ่งของนั้นที่เกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติหรือสิ่งของที่สร้างขึ้นโดยฝีมือมนุษย์ก็ตาม เช่น ที่ดินเป็นทรัพยากรที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่ดินมีหลายชนิด หลายประเภท
เช่น ที่ดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ และอยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ ต้องรอน้ำฝนอย่างเดียว ต่อมามนุษย์มีความเจริญทางด้ายวิทยาการทันสมัยมากขึ้น จึงทำการปรับปรุงที่ดินนั้นให้มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยการใส่ปุ๋ย พร้อมกันนั้นก็ได้สร้างคลองส่งน้ำชลประทานมายังที่ดิน จึงกล่าวได้ว่าทรัพยาการการเกษตรอาจสร้างขึ้นจากฝีมือมนุษย์ได้ แต่ทรัพยากรทั้งที่เกดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นต่างก็มีปริมาณจำกัด คือ ไม่เพียงพอแก่ความต้องการ เม่อทรัพยากรการเกษตรมีไม่เพียงพอแก่ความต้องการ ทรัพยากรนั้นก็จะกลายเป็นสิ่งที่มีค่า value และ หายาก scarce หากมีผู้ต้องการมากกว่าปริมาณที่ทรัพยากรมีอยู่ ก็จะเกิดการขาดแคลน shortage จึงต้องมีการพิจรณาว่า จะนำทรัพยาการไปใช้ในทางใดจึงจะให้ประโยชน์มากที่สุด โดยวัดจากความพอใจของมนุษย์ เมื่อความพอใจของประชาชนมารวมกันก็จะกลายเป็นความต้องการของสังคม ได้แก่ ความต้องการเกี่ยวกับการผลิตว่า ต้องการจะผลิตอะไร ผลิตอย่างไร คือ ผลิตด้วยวิธีใดจึงจะทำให้มีต้นทุนต่ำสุด หรือเ ป็นประโยชน์มากที่สุด คือ จะต้องพิจรณาถึงการใช้ทรัพยากรการเกษตรว่าจะใช้ ทรัพยากรชนิดใดบ้าง จำนวนเท่าใด ใช้ที่ไหน และเมื่อใด ซึ่งวิธีการพิจารณาการใช้ทรัพยากรดังกล่าวเรียกว่า การจัดสรรทรัพยากรการเกษตรนอกจากจะสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายทางแล้ว ยังต้องมีการพิจารณาถึงการใช้ทรัพยากรซึ่งาสามารถทดแทนกันได้ด้วย การจัดสรรทรัพยากรมิได้จำกัดอยู่เพียงเฉพาะภาคเกษตรกรรมเท่านั้น จะต้องจัดสรรทรัพยากรระหว่างภาคเกษตรกรรมกับภาคอื่นๆ ด้วย เช่น ประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านอุตาสหรรมมักจะดึงเอาทรัพยากรการเกษตรไปใช้ในการพัฒนาในภาคอื่นๆ พร้อมๆกัน กับการพัฒนาทางการเกษตร ส่วนประเทศที่กำลังพัฒนาส่วนใหญ่เป็นประเทศเกษตรกรรมทรัพยากรจะถูกใช้ไปในภาคเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ |
|||||||||||
|
![]() |
![]() | ![]() |
chit
ตำแหน่ง
![]() ![]()
![]() |
![]() |
การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีการเกษตร หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในฟังก์ชั่นการผลิต คือ การเพิ่มขึ้นของประสิทธิภาพการผลิตของปัจจัยการผลิต การเปลี่ยนแปลงฟังก์ชั่นการผลิต ได้แก่ การทำให้ปริมาณผลผลิตที่ได้รับมีมากขึ้นโดยยังเสียต้นทุนเท่าเดิม หรือ การทำการผลิตโดยผลผลิตที่ได้ยังคงปริมาณเหมือนเดิมแต่เสียต้นทุนลดน้อยลง
การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี คือ การเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิตจากเดิมไปสู่วิวัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ หรือการเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตทางการเกษตรมากชึ้น คือ การผลิตได้เปลี่ยนเป็นการใช้เครื่องจักรกลเป็นส่วนใหญ่ แทนที่การใช้แรงงานเกษตร เพื่อพัฒนาการเกษตรให้มีความเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น สินค้าเกษตรมีคุณภาพมากขึ้น และสามารถมีส่วนในกระบวนการผลิตทุกขึ้นตอนโดยสามารถลดต้อนทุนการผลิตลง ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีการเกษตร จงหมายถึงการเปลี่ยนแปลงในฟังก์ชั่นการผลิต หรือ การสร้างฟังก์ชั่นการผลิตขึ้นมาใหม่ ได้แก่ 1.เทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มผลผลิต คือ ผลผลิตที่ได้รับมีมากขึ้นโดยยังเสียต้อนทุนเท่าเดิม 2.เทคโนโลยีที่ลดต้นทุนการผลิต คือ ผลผลิตที่ได้รับยังคงปริมาณเดิมแต่เสียต้อนทุนน้อยลง การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอาจแยกามระดับความยากง่ายเป็นลักษณะดังนี้ 1.การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีแบบง่ายๆ เช่นการเปลี่ยนแปลงการใช้ปัจจัยการผลิต จากจอบขุดดินเป็นไถนา หรือจากมีดเป็นเคียวเกี่ยวข้าว หรือ การเปลี่ยนแลงในวัตถุดินที่ใช้ในการผลิต เช่นเปลี่ยนจากการใส่ปุ๋ยคอกเป็นปุ๋ยหมัก 2.การเปี่ยนแหลงเท๕โนโลยีโดยการเปลี่ยนวิธีการผลิตให้ดีขึ้นกว่าเดิม เช่น การให้ต้นไม้ในสวนผลไม้ ด้วยวิธีการยกร่องสวนก็เปลี่ยนเป็นการใช้ท่อน้ำต่อไปยังต้นไม้ทุกต้อนในสวน หรือการปลูกผลไม้ในระยะชิด เช่น ในเนื้อที่ 1 ไร่ ตามปกติจะปลูกได้ประมาณ 25 ต้น ก็เปลี่ยนเป็นการปลูกระยะชิดได้ประมาณ 250 ต้น 3.พยายามอนุรักษ์ที่ดินทให้มีความดุดมสมบูรณ์อยู่เสมอ ด้วยการหมั่นปรับปรุงบำรุงดินให้คงสภาพความดุดมสมบูรณ์ไว้ โดยปกติพืชจะดูดซับอาหารในดินไปเลี้ยงลำต้นให้เจริญเติบโต ออกดอกออกผล จึงทำให้อาหารในดินค่อยๆ ลดน้อยลง ดังนั้นภายหลังเก็บเกี่ยจงควรใส่ปุ๋ย ซึ่งเป็นแร่ธาตุอาหารที่พืชมีความต้องการ หรือการอนุรักษ์ที่ดินให้มีความเป็นกลาง ด้วยการปรับปรุงแก้ไขดินเปรี้ยว โดยการใช้แร่ธาตุที่เป็นด่าง เช่น ดินมาล หรือเมื่อดินเค็มก็พยายามปล่อยน้ำจืดเข้าไปในที่ดินทเพื่อละลายเกลือให้เจือจาง เพื่อลดความเค็ม |
|||||||||||
|
![]() |
![]() | ![]() |
chit
ตำแหน่ง
![]() ![]()
![]() |
![]() |
การปฏิรูปที่ดินเพื่อการเษตรกรรม (Agricultural land reform) การปฏิรูปการเกษตร(Agrain Reform) และการจัดรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม(Agricultural Land Consolidation) หมายความว่าอย่างการปฏิรูปที่ดิน หายถึง การจัดระบบการถือครองที่ดินเสียใหม่ โดยยกเลิกระบบเดิมและกำหนดระบบใหม่ขึ้น เพื่อที่จะให้ระบบใหม่นั้นสามารถสนองความต้องการที่มุ่งหมายได้
การปฏิรูปที่ดิน หมายถึง การกระทำการถือครองที่ดิน หรือสิทธิในที่ดิน (Land Redistribution) ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นกรรมสิทธิ์หรือสิทธิการเช่า เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่เกษตรกรรายย่อยซึ่งไม่มีที่ดินเป็นจองตนเอง หรือมีที่ดินอยู่บ้างแต่ยังไม่พอเพียงแก่การครองชีพ และเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้แรงงานในการเกษตรด้วย ซึ่งวิธีการดำเนินงานนี้อาจเป็นการบังคับเวนคืนเอาที่ดินมาจากเจ้าของที่ดินรายใหญ่ หรือจัดหาจากที่ดิจของรัฐมาขายให้แเกษตรกรหรือจัดให้เกษตรกรได้เข้าทำกิน เช่น การจัดที่ดินเพื่อตั้งนิคม การปฏิรูปการเกษตร Agrian Reform หมายถึง การปรับปรุงสภาพการถึอครองที่ดิน ทั้งในลักษณะของกรรมสิทธิ์หรือสิทธิการเช่า สถาบันการผลิตทางการเกษตร สถาบันบริการสนับสนุนการเกษตร และสถาบันอื่นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชนบทด้วย การปฏิรูปการเกษตรนี้อาจทำในลักษณะ เช่น คิดขนาดที่ดินให้มีการถือครองพอเพียงแก่การครองชีพ ปรับปรุงระบบการเช่าที่ดินมิให้เอารัดเอาเปรียบแก่กันจนเกินไป และให้ความมั่นคงแก่การถือครองที่ดินมากขึ้น มีการจัดรูปที่ดินให้เหมาะสมกับความเป็นอยู่และประกอบการเกษตร |
|||||||||||
|
![]() |
![]() | ![]() |
chit
ตำแหน่ง
![]() ![]()
![]() |
![]() |
ลักษณะที่สำคัญของตลาดแรงงานเกษตร ได้แก่อะไรบ้ง จงอธิบาย
ลักษณะของตลาดแรงงานทางด้านการเกษตรนั้นย่อมจะแตกต่างไปจากตลาดแรงงานอื่นๆ ซึ่งจะพิจารณาประเด็นที่สำคัญดังนี้ 1.ลักษณะของงาน งานทางการเกษตรจะมีลักษณะของการทำงานเป็นฤดูกาล หมายถึง ในรอบหนึ่งปี เกษตรกรจะทำการเกษตรในช่วงที่เป็นฤดูกาลที่มีความเหมาะสมต่อการทำการเกษตรเท่านั้น จึงมีเวลาว่างที่มิได้ทำการผลิตอยู่อีก จึงเป็นเหตุให้เกิดการว่างงานตามฤดูกาล การเกษตรต้องพึ่งพาอาศัยธรรมชาติเป็นเครื่องช่วยที่สำคัญ จึงย่อมมีความเสี่ยงสูงและเกิดความไม่แน่นอนในผลผลิตที่ได้รับอยู่เสมอ เมื่อใดธรรมชาติเกิดความวิปริต เช่น ฝนแล้งน้ำท่วม ก็ย่อมมีผลกรทบต่อกำหนดเวลาการทำงานซึ่งจะต้องยึดช้าออกไปจากเดิม หรือ อาจจะทำให้การงานที่ทำอยู่เกิดการหยุดชะงักได้ บางครั้งก็อาจจะเกิดการเสียหายขึ้นอีกด้วย ส่วนลักษณะของงานทางด้านอุตสาหกรรมนั้นมักจะเป็นงานประจำซึ่งสภาพดินฟ้าอากาศไม่มีผลกระทบต่อการทำงานเลย งานจึงสามารถดเนินไปได้เรื่อยๆ 2.วิธีการผลิตทางการเกษตร ในประเทศกำลังพัฒนา แรงงานที่ใช้เป็นแรงงานประเภทด้อยฝีมือ และการผลิตจะใช้แรงงานจำนวนมากร่วมกับเครื่องทุนแรงแบบง่าย เช่น มีด จอบ เสียม เคียว ไถ ส่วนประเทศที่มีการพัฒนาทางการเกษตรจะมีเครื่องจักรกลทุ่นแรงช่วยในการผลิตทุกๆ ขั้นตอน โดยทำการผลิตร่วมกับแรงงานที่มีฝีมอ จำนวนน้อยในภาคอุตสาหกรรม ต้องใช้แรงงานที่มีฝีมือ หรือ กึ่งฝีมือ ร่วมกับเครื่องจักรกลซึ่งคนงานเหล่านั้นต่างก็มีหน้าที่รับผิดชอบร่วมกันในการผลิต ด้วยการแยกการทำงานไปตามความถนัดของแต่ละบุคคล 3.โครงสร้างของหน่วยงานและการบริหาร โดยทั่วไปในประเทศกำลังพัฒนาลักษณะของหน่วยงานในด้านการเกษตรกรรมยังไม่เป็นระเบียบแบบแผน เพราะโดยทั่วไปแบ้วการบริหารหน่วยงานมักจะเป็นไปในแบบของครอบครัวเนื่องจากการเผลิตส่วนใหญ่จะใช้แรงงานที่มีอยู่ในครอบครัว การจ้างแรงงานภายนอกก็มีเป็นส่วนน้อย แรงงานในครอบครับจะเป็นหลักในการผลิต โดยผู้ใช้แรงงานทุกคนจะได้รับผลประโยชน์ร่วมกันจากผลผลิตที่ได้ ส่วนภาคอุตสาหกรรม การบริหารงานจะเป็นไปในแบบนายจ้างกับลูกจ้าง ลัษณะโครงสร้างจะสลับซับซ้อนมากน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของสถานประกอบการและแรงงานที่ใช้ ผลตอบแทนลูกจ้างจะได้รับผลตอบแทนเป็นค่าจ้างและนายจ้างจะได้รับกำไร |
|||||||||||
|
![]() |
![]() | ![]() |
chit
ตำแหน่ง
![]() ![]()
![]() |
![]() |
ปัญหาและอุปสรรคของเกษตรกรในใช้เครื่องจักรกลการเกษตร
1.ปัญหาทางด้านความรู้ เกษตรยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องเครื่องจักรกล เนื่องจากเกษตรมีการศึกษาต่ำ ดังนั้น ความรู้ความเข้าใจทางด้านเครื่องจักรกลมักมีน้อย 2.ปัญหาทางด้านราคาของเครื่องจักรกล และส่วนประกอบ ยังมีราคาสูง เกษตรกรมีเงินทุนไม่เพียงพอที่จะซื้อเครื่องจักรที่มีราคาสูงมาใช้ในการเกษตร 3.ปัญหาทางด้านต้นทุนและแหล่งสินเชื่อ เกษตรกรขาดแคลนแหล่งเงินทุน และสินเชื่อทีกทั้งดอกเบี้ยยังอยู่ในอัตรสูง แหล่งสินเชื่อที่มีอยู่ก็ไม่เพียงพอ และยังไม่ทั่วถึง 4.ระบบการผลิต ไม่เหมาะสมกับการใช้เครื่องจักร เช่น มีพื้นที่ขนาดเล็กแต่ใช้รถแทรกเตอร์ 5.ขาดการส่งเสริมจากรัฐบาลอย่างจริงจัง 6.การบำรุงรักษา เนื่องจากเกษตรกรไม่มีความรู้ในเรื่องของเครื่องจักรกล ดังนั้นการบำรุงรักษาเครื่องจักรจึงทำได้ยาก และไม่ถูกวิธี ปัญหาและอุปสรรคในการใส่ปุ๋ยเคมีของเกษตรกร เกษตกรไทยโดยทั่วไปมักจะประสบปัญหาและอุปสรรคถในการใช้ปุ๋ยหลายประการ คือ 1.ราคาปุ๋ยเคมีเปรียบเทียบกับราคาของผลผลิต ปรากฎว่า ราคาปุ๋ยเคมียังมีราคาสูง เมื่อเทียบกับรายได้จากผลผลิตที่เกษตรกรได้รับ 2.ลักษณะของการถือครองที่ดินของเกษตรกร มีลักษณะผสมผสานระหว่างการมีที่ดินของตนเองและการเช่าที่ดิน ในการเช่าที่ดินจะต้องเสียค่าเช่า ซึ่งอาจมีผลทำให้เกษตรกรไม่กล้าที่จุลงทุนใส่ปุ๋ยลงไปในดินที่เช่า เพราะเกษตรกรยังขาดหลักประกันว่าจะสามารถทำการเกษตรในที่ดินเช่านั้นได้อีกนานเท่าใด และจะคุ้มกับการลงทุนหรือไม่ นอกจากนี้ที่ดินก็ยังมีลักษณะกระจายออกไปเป็นแปลงเล็กแปลงน้อย 3.น้ำและการชลประทาน หากเกษตรกรมีพื้นที่อยู่ในเขตชลประทาน เกษตรกรจะมั่นในว่าหากซื้อปุ๋ยมาใช้ จะทำให้ได้รับผลผลิตตามที่คาดหวังไว้ ก็จะกล้าลงทุน 4.เกษตรกรขาดความรู้ความเข้าใจในวิธีการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้อง เกษตรกรยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของปุ๋ย โดยเฉพาะ วิธีการใช้ เกษตรกรจึงต้องเข้ารับการอบรมจากเจ้าหน้าที่ที่ส่งเสริมการเกษตร เพื่อจะได้น้ำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.ยังขาดแคลนสถาบันที่จะช่วยส่งเสริมและให้ความสะดวกในการใช้ปุ๋ยให้แก่เกษตรกร โดยเฉพาะสถาบันที่ให้สินเชื่อแก่เกษตรกรในเรื่องปุ๋ย เพราะเกษตรกรมักขาดแคลนเงินทุน ซึ่งเกษตรกรบางคนยอมกู้หนี้ยืมสินเพื่อน้ำเงินไปซื้อปุ๋ย โดนเสียดอกเบี้ยในอัตราสูง และในบางครั้งเกษตรกรยังถูกหลอกให้ซื้อปุ๋ยปลอมด้วย ในปัจจุบันมีสถาบันของรัฐที่ให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรในเรื่องสินเชื่อ ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. แรงงานเกษตรของไทยในปัจจุบน มีปัญหาที่สำคัญอะไรบ้าง จงอธิบาย ปัญหาของแรงงานการเกษตรมีอยู่ 2 ด้าน 1.ด้านปริมาณของแรงงานเกษตร หรือปัญหาการว่างงาน เพราะปริมาณของแรงงานเกษตรยังมีอีกจำนวนมากเกินไป และการเกษตรนั้นก็จะทำกันในฤดูกาล ทำให้เกิดปัญหาการว่างงานขึ้น 2.ด้านคุณภาพของแรงงานการเกษตร ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะปัจจุบันมีการนำเท๕โนโลยีมาใช้แทนแรงงาน คนก็จะตกงาน จะมีเฉพาะแรงงานที่มีความสามารถและประสิทธิภาพเท่านั้น วิธีการแก้ไข 1.จำกัดการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรของแรงงานเกษตร เช่น การวางแผนครอบครัว 2.การป้องกันการอพยพเข้าสู่ตัวเมือง เช่น การอพยพเข้าสู่กรุงเทพฯ ควรเพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิตให้แก่แรงงานทางด้านการผลิต เช่น ช่างไม้ ช่างเครื่อง ช่างเย็บค้า ช่างเหล็ก นอกจากนี้อาจหางานให้เกษตรกรมีงานทำ ส่งเสริมการกระจายรายได้และส่งเสริมมีงานทำไปสู่ภูมิภาคต่างๆ |
|||||||||||
|
![]() |
![]() | WE ARE THE WORLD ! | ![]() |
artjureallove
ผู้เยี่ยมชม
![]() |
![]() |
ดูผลบอล สำหรับคุณที่ถูกใจ เราก็มีคำแนะนำ casino online สดจริง รวยจริง ทำไมต้องเล่นกับเรา ที่พร้อมให้คำชี้แนะด้วยความประทับใจด้วยฐานะการเงินที่ไว้วางใจ หากไม่เข้าใจเรามีเจ้าหน้าทีค่อยช่วยเหลือท่าน สนใจสมัครเป็นสมาชิกกับเรา goldclub slot หรือว่าท่านเป็นคนหนึ่งที่ชอบความเสี่ยง ที่ได้รับลิขสิทธิ์แท้โดยตรงจากกัมพูชา
|
|||||||||||
|
![]() |
![]() | 481 เศรษฐศาสตร์ทรัพยากรการเกษตร | ![]() |
![]() |
![]() |
อพาร์ทเมนท์ แมนชั่น หอ หอพัก หาได้ที่ Tee-pak.com
Powered by phpBB © 2001-2004 phpBB Group
phpBB Style created by phpBBStyles.com and distributed by Styles Database.